Mulberry
มัลเบอร์รี่ (Mulberry) หรือ หม่อน (ภาคอีสานเรียกว่า “มอน”) ที่เรารู้จักกันจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ หม่อนหรือมัลเบอร์รี่ชนิดที่ปลูกไว้เพื่อรับประทานผลเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีชื่อสามัญว่า Black Mulberry และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L. จัดอยู่ในวงศ์ MORACEAE ผลสุกจะเป็นสีดำมีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ส่วนอีกชนิด คือ หม่อนที่ปลูกไว้เพื่อการเลี้ยงไหมเป็นหลัก มีชื่อสามัญว่า White Mulberry และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba L. ชนิดนี้ใบจะมีขนาดใหญ่กว่าและออกใบมากกว่า ใช้เป็นอาหารเลี้ยงไหมได้ดี แต่ผลจะมีขนาดเล็กกว่า เมื่อสุกจะมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าชนิดแรก และยังมีชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดครับ เช่น Red Mulberry ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus rubra L. เป็นต้นสรรพคุณของมัลเบอร์รี่
ผลมัลเบอร์รี่มีรสเปรี้ยวหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ช่วยขับลมร้อน ช่วยบรรเทาอากากระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น
ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ
ผลมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ
มัลเบอร์รี่มีสรรพคุณช่วยทำให้เส้นประสาทตาดี ทำให้สายตาแจ่มใส หูตาสว่าง ร่างกายสุขสบาย
ผลมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก และยังมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มใยอาหาร
ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาระบายอ่อน ๆ
ผลมัลเบอร์รี่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและไต มีสรรพคุณช่วยบำรุงตับและไต ช่วยรักษาตับและไตพร่อง
ช่วยแก้ข้อมูลข้อเท้าเกร็ง แก้ไขข้อ โรคปวดข้อ
ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย
ในประเทศจีนจะใช้ผล กิ่งอ่อน เปลือกราก และใบเป็นยาบำรุงกำลัง รักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไอ หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคปวด
“ ชาใบหม่อน “เครื่องดื่มสมุนไพรจากใบหม่อน
ใบหม่อน มีสารดิอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (GABA – gamma amino butyric acid) ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต และสาร ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอล แร่ธาตุ และวิตามิน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวมสูงกว่าใบชาทั่วไป
นอกจากนี้ใบหม่อน ยังมีสารฟลาวโวนอยด์ ที่ช่วยให้ :
1. ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
2. ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
3. ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4. ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว
ใบหม่อนยังปรุงอาหารแทนผงชูรส และเป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นบ้านได้หลายชนิด เช่น ต้มยำ แกงอ่อม และผักเคียง ฯลฯ มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ปัจจุบันชาใบหม่อนได้เข้ามาสู่อุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ เช่น ไอศกรีมชาเขียวใบหม่อน เค้กชาใบหม่อน คุกกี้ใบหม่อน บะหมี่ใบหม่อน
ประโยชน์ของมัลเบอร์รี่
มัลเบอร์รี่มีสาร Anthocyanins ในปริมาณมาก โดยสารชนิดนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ต่อต้านอาการขาดเลือดในสมอง ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น
มัลเบอร์รี่มีสาร Deoxynojirimycin ที่เป็นตัวช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
มัลเบอร์รี่มีกาบา (GABA) ที่เป็นตัวช่วยลดความโลหิต
มัลเบอร์รี่มีสาร Phytosterol ที่สามารถช่วยลระดับคอเลสเตอรอลได้
มัลเบอร์รี่มีสาร Polyphenols ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์กับร่างกาย
สารประกอบฟีนอลในมีอยู่ในผลมัลเบอร์รี่ สามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านอาการอักเสบ อาการเส้นเลือดโป่งพอง และยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสได้
สาร Quercetin และสาร Kaempferol ที่มีอยู่ในผลมัลเบอร์รี่เป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรง เลือดหมุนเวียนดี ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยยืดอายุเม็ดเลือดขาว และลดอาการแพ้ต่าง ๆ
มีวิตามินเอที่ช่วยในด้านการบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ และลดการอักเสบของสิว
วิตามินบี6 ในผลมัลเบอร์รี่ มีประโยชน์ในด้านการบำรุงเลือด ตับ และไต ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และลดการเกิดสิว
มัลเบอร์รี่มีวิตามินซีสูง ที่เป็นตัวช่วยป้องกันหวัด ภูมิแพ้ วัณโรค โรคปอด เชื้อไวรัส และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
มัลเบอร์รี่กรดโฟลิกสูง ซึ่งกรดโฟลิกนั้นสามารถช่วยทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเจริญได้เต็มที่ ทำให้เซลล์ประสาทไขสันหลังและเซลล์สมองเจริญเป็นปกติ และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
นอกจากนี้ลูกมัลเบอร์รี่ยังกรดอะมิโน วิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม โซเดียม สังกะสี ฯลฯ[
บางรายงานระบุว่ามัลเบอร์รี่สามารถช่วยแก้อาการเมาค้าง และช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
ผลมัลเบอร์รี่สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น แยมหม่อน เยลลี่หม่อน ขนมพาย ข้าวเกรียบ ไอศกรีมหม่อน หม่อนแช่อิ่ม หม่อนอบแห้ง ลูกอมหม่อน น้ำหม่อน ไวน์หม่อน เป็นต้น
ผลหม่อน มัลเบอรี่ ในกระถาง 20 นิ้ว ข้าน้อยปลูกเอง ดกมากครับ
คุณค่าทางโภชชนาการของมัลเบอร์รี่ ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 43 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม
น้ำตาล 8.1 กรัม
ใยอาหาร 1.7 กรัม
ไขมัน 0.39 กรัม
โปรตีน 1.44 กรัม
เถ้า 0.69 กรัม
วิตามินเอ 25 หน่วยสากล
เบต้าแคโรทีน 9 ไมโครกรัม
ลูทีน และ ซีแซนทีน 136 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.029 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี2 0.101 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี9 6 ไมโครกรัม (2%)
วิตามินซี 36.4 มิลลิกรัม (44%)
วิตามินอี 0.87 มิลลิกรัม
วิตามินเค 7.8 ไมโครกรัม
โคลีน 12.3 มิลลิกรัม (3%)
แคลเซียม 39 มิลลิกรัม (4%)
ธาตุเหล็ก 1.85 มิลลิกรัม (14%)
แมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม (5%)
ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม (5%)
โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม (4%)
โซเดียม 10 มิลลิกรัม (1%)
สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม (1%)
ทองแดง 0.06 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 0.6 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
References
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หม่อน (Mon)”. หน้า 327.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หม่อน”. หน้า 618.
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “หม่อน” หน้า 194-195.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หม่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [22 ก.ค. 2014].
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์). “หม่อน ( Mulberry ) : พืชมากประโยชน์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rdi.ku.ac.th/kufair50/. [22 ก.ค. 2014].
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (นายวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม). “หม่อน & ไหม… พืชและเส้นใยแห่งอนาคต”.